รู้หรือไม่? เครื่องยนต์ดีเซล ทำงานอย่างไร?

รวบรวมสาระเกี่ยวกับเครื่องยนต์ดีเซล มีหลักทำงานอย่างไร? ชิ้นส่วนหลัก ๆ ที่ช่วยในการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลคืออะไร ที่นี่มีคำตอบ

เครื่องยนต์ดีเซล ทำงานอย่างไร?
เครื่องยนต์ดีเซล ทำงานอย่างไร?

หลังจากบทความที่แล้ว ได้พูดถึงสาระแบบคร่าว ๆ ของเครื่องยนต์เบนซินกันไปแล้ว ในบทความนี้ เรามาพูดถึงสาระความรู้และหลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลกันบ้าง

เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) หรือเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยกำลังอัด เนื่องจากเครื่องยนต์ประเภทนี้ติดไฟยากจึงต้องอัดอากาศด้วยกำลังที่สูง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ก็จะเป็นชนิดที่มีจุดเดือดสูง โดยจะใช้น้ำมันเชื้อเพลิงฉีดเข้าไปแรง ๆ ในกระบอกสูบ เพื่อทำให้เกิดการระเบิดภายใน จนได้พลังงานออกมา

จุดเด่นหลัก ๆ ของเครื่องยนต์ชนิดนี้คือมีความทนทานสูง เนื่องจากประกอบด้วยชิ้นส่วนที่แข็งแรง ใช้งานได้นานและให้แรงบิดสูงกว่า ทว่าด้านอัตราเร่ง และกำลังแรงยังน้อยกว่าเครื่องยนต์เบนซินเล็กน้อย และปล่อยมลพิษสูงกว่า

มีความแข็งแรง ทนทาน ประหยัดเชื้อเพลิง
มีความแข็งแรง ทนทาน ประหยัดเชื้อเพลิง

สำหรับชิ้นส่วนภายในนั้นมีมากมาย แต่ชิ้นส่วนหลัก ๆ นั้น จะประกอบไปด้วย

  • กระบอกสูบ
  • ลูกสูบ
  • วาล์วไอดี
  • วาล์วไอเสีย
  • หัวฉีด
  • ก้านสูบ
  • เพลาข้อเหวี่ยง

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล

จะคล้ายกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน หรือเครื่องยนต์เบนซิน คือประกอบด้วย 4 กระบวนการใหญ่ ๆ ได้แก่ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย อธิบายคร่าว ๆ ได้ ดังนี้

1. จังหวะดูด (Intake Stroke)

เริ่มทำงานจากจังหวะที่ลูกสูบเลื่อนอยู่ตำแหน่งบนสุดของกระบอกสูบ (ศูนย์ตายบน) ขยับลงเพื่อที่จะไปสู่จุดล่างสุดของลูกสูบ (ศูนย์ตายล่าง) ลิ้นไอดีจะเปิดออกเพื่อดูดอากาศเข้ามา กระทั่งเลื่อนลงสู่ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอดีก็จะปิด

2. จังหวะอัด (Compression Stroke)

ต่อเนื่องจากจังหวะดูด หลังจากลูกสูบเลื่อนสู่ศูนย์ตายล่าง และภายในลูกสูบได้อากาศเยอะที่สุดแล้ว ก็จะขึ้นสู่ศูนย์ตายบนอีกครั้ง เพื่ออัดอากาศให้ควบแน่น

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล

3. จังหวะระเบิด (Power Stroke)

ก่อนลูกสูบเลื่อนถึงศูนย์ตายบน หัวฉีดจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบเป็นฝอยให้เข้าไปกระทบกับอากาศที่กำลังร้อน ซึ่งจะทำให้เกิดแรงระเบิดขึ้น และแรงดันจากการระเบิดจะผลักให้ลูกสูบเลื่อนลงสู่ศูนย์ตายล่าง

4. จังหวะคาย (Exhaust Stroke)

เมื่อลูกสูบไปถึงศูนย์ตายล่าง จังหวะที่ลูกสูบกำลังเลื่อนขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอเสียจะเปิด แล้วดันไอเสียออกไปทางท่อไอเสีย และเมื่อลูกสูบถึงศูนย์ตายบน ก็จะเริ่มต้นจังหวะดูดใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ในอดีต แม้เครื่องยนต์ดีเซลจะให้อัตราเร่งแรงไม่เท่าเครื่องยนต์เบนซิน ทว่าในปัจจุบัน เครื่องยนต์ดีเซลได้รับการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพใกล้เคียง และยังถูกนำไปใช้ในรถเกือบทุกประเภท (เดิมใช้ในรถกระบะเท่านั้น) จนพูดได้ว่ารถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลก็ถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการรถไว้ใช้งาน เดินทางไกล บรรทุกหนัก

เครื่องยนต์ดีเซล ทำงานอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม

โปรโมชั่น ดูทั้งหมด

โปรโมชั่น Ford กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ

โปรโมชั่น Ford กันยายน 2565 สิทธิพิเศษจากฟอร์ดสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถแต่ยังไม่มีงบ พร้อมทั้งโปรโมชั่น Ford อื่น ๆ เช็กได้กันเลย

โปรโมชั่น Isuzu กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ

โปรโมชั่น Isuzu กันยายน 2565 สิทธิพิเศษมากมายสำหรับลูกค้าอีซูซุที่ยกมาให้เลือกพิจารณากันทั้งค่าย เช็กโปรโมชั่น Isuzu ได้ที่นี่

โปรโมชัน Nissan กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ

โปรโมชัน Nissan กันยายน 2565 สิทธิดี ๆ ส่วนลดสุดปัง สำหรับรถยนต์ผู้ที่สนใจรถยนต์นิสสัน เช็กรายละเอียดโปรโมชั่น Nissan ได้ที่นี่

โปรโมชัน Suzuki กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ

โปรโมชัน Suzuki กันยายน 2565 และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมายให้ที่ Suzuki นำมามอบให้แบบจัดเต็ม!

International

Cars in Thailand Chobrod.com (Cars in Thailand)